เทคโนโลยีสัมพันธ์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เทคโนโลยีสัมพันธ์ by Mind Map: เทคโนโลยีสัมพันธ์

1. เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

2. เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตกซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าว หน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา ส่วนในความหมาย ของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี

3. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร - หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวข้องกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการเกษตร ได้แก่ 1. ด้านการจัดการสาขาพืชและการจัดการสาขาสัตว์การจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 2. การจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้แก่เกษตรกร 3. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้เกษตรกร 4. การให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร 5. การศึกษา วิจัย ค้นคว้า และทดลอง 6. การวางแผนการดำเนินงาน และการจัดการ

4. ตัวอย่าง - การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ : เทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการเกษตร การพัฒนาทางด้านการเกษตรของไทยได้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากมีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้กันอย่างกว้างขวาง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อก็เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ชนิดหนึ่งที่ประสบความสำเร็จและเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือแม้แต่ในเชิงการค้าวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทำให้การเก็บรักษาพันธุ์พืชสามารถทำได้ในพื้นที่จำกัด ประหยัดแรงงานในการดูแลรักษา และปลอดภัยจากศัตรูพืช ภัยธรรมชาติ และการกลายพันธุ์อย่างไรก็ตาม เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย รวมทั้งการศึกษาทางด้านชีวเคมี สรีรวิทยาของพืช และทางด้านพันธุกรรม นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้อีกด้วย

5. เทคโนโลยีกับแพทยศาสตร์ แพทยศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการป้องกันและบำบัดโรค ซึ้งเน้นเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคและการรักษาอาการของโรคให้ทุเลาลงและหายไปในที่สุด เพื่อให้ผู้เจ็บป่วยมีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ โดยแพทย์ผู้รักษาจะต้องค้นหาวิธีการและเทคดนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในทางการแพทย์โดยตรง เช่น วัคซีน เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์การตรวจหาสมมุติฐานของโรค วิธีการใช้ในการบริหารสุขภาพ เป็นต้น วงการแพทย์ได้นำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ทั้งการวินิจฉัยและการรักษาโรค เพื่อให้การรักษาอาการเจ็บป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 1.เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับสูงที่นำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับคลื่นวิทยุมาใช้ในการตรวจวินิจฉัย 2.เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ เลเซอร์เป็นแสงที่มีคลื่นต่างๆ กัน แสงเลเซอร์ถูกนำมาใช้ในการผ่าตัดที่ต้องการความละเอียดอ่อนมาก การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ทำให้ผู้ป่วยเจ็บป่วยน้อยลง 3.ชุดตรวจเชื้อไข้หวัดนกทั้งที่เกิดในสัตว์และในคน ไข้หวัดนกสายพันธ์ย่อยเอชห้า-เอ็นหนึ่ง เป็นโรคระบาทที่เกิดในสัตว์ปีกแล้วสามารถติดต่อสู่คนได้ 4.การนำสารกัมมันตรังสีมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค โดยการรับประทานหรือฉีดสารกัมมันตรังสีเข้าไปฝนร่างกาย แล้วตรวจด้วยเครื่องมือแสดงภาพอวัยวะที่ต้องการตรวจ 5.การผลิตวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ วัคซีน คือ สารที่ไปกระตุ้นระบบภูมคุ้มกันของมนุษย์หรือสัตว์ให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเฉพาะอย่าง ซึ่งมีผลในการป้องกันการเกิดโรค

6. เทคโนโลยีกับโภชนศาสตร์โภชนศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่งว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต โดยเน้นเรื่องอาหาร พิษภัยอาหาร โภชนาการศึกษา 1. เทคโนโลยีการถนอมอาหารโดยการพาสเจอร์ไรซ์และการสเตอริไลซ์ สามารถทําได้ 2 วิธี คือ การพาสเจอร์ไรซ์ และการ สเตอริไลซ์ 1. การพาสเจอร์ไรซ์ ใช้ความร้อนที่อุณภูมิต่ำกว่าจุดเดือด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่ไม่สร้างสเปอร์และก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับอาหารแต่จะไม่ทำลายจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ ( 1 ) ระบบช้าอุณภูมิต่ำหรือ เป่นระบบที่ใช้ความร้อนที่อุณภูมิประมาณ60องศา เซลเซียล นาน 30 นาทีแล้วทำให้เย็นทันที โดยเก็บไว้ในตู้เย็น ระยะเวลาในการเก็บประมาณ 3-7 วัน ( 2) ระบบช้าอุณหภูมิสูงหรือ( HTLT High Temperater Long Time ) เป็นระบบที่ใช้ความร้อนที่มีอุณหภูมิประมาณ 72-85 องศาเซลเซียส นาน15 วินาที แล้วทําให้เย็นลงทันที 2) การสเตอริไลซ์ ใช้ความร้อนที่อุณภูมิจุดเดือดหรือสูงกว่าจุดเดือดเพื่อทำลายปอร์ของจุลินทรีย์ทุกชนิดที่เป็นสาเหตุให้อาหารบูดเสีย ทำให้ผู้บริโภคสามารถรับประทานอาหารที่เก็บรักษาด้วยวิธีนี้ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งใช้ความร้อนที่อุณภูมิ 135-150 องศาเซลเซียล นาน 1-4 วินาที 2. เทคโนโลยีการถนอมอาหารโดยการแช่เย็นและการแช่แข็ง ใช้หลักการที่ว่า ความเย็นหรืออุณภูมิต่ำจะช่วยชะลอการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทำให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาอาหารและคงคุณค่าอาหารทางโภชนาการ 3เทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปมังคุด มังคุดเป็นผลไม้ที่ตลาดมีความต้องการสูง 4. การรเร่งกระบวนการหมักน้ำปลาโดยการประยุกต์ใซม์ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตน้ำปลามีคุณภาพดีและมีกลิ่นหอม สามารภผลิตน้ำปลาเพื่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออกมากที่สุดในโลก 5 การถนอมอาหารโดยการฉายรังสี เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้แทนวิธีการถนอมอาหารด้วยความร้อน การถนอมอาหารโดยการฉายรังสีหลักการคือ รังสีที่ฉายลงไปในอาหารจะไปทําลายหรือยับยั้งการเจรฺิญเติบโตของจุลินทรีย์

7. เทคโนโลยีกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสัมพันธ์กับพลังงานและสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวกับการนําพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การใช้พลังงานแบบประหยัด และการใช้เทค โนโลยีเพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเป็นการนําความรู้และศิลปวิทยาการในการดํารงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่กําลังเปลี่ยนแปลง 1. เทคโนโลยีจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานจากธรรมชาติที่มีความสะอาดปราศจากการก่อมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม มีปริมาณมากมายมหาศาลและไม่มีหมดสิ้น จึงมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้แทนพลังงานอื่นๆ 1) เทคโนโลยีผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ เป็นระบบการผลิตกระแส-ไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสําหรับใช้งานในชนบทที่ไม่มีระบบสายไฟส่งไฟฟ้า 2) เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตความร้อน ประเทศมีการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบใช้งานต่างๆเช่น เครื่องผลิตนํ้าร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องอบแห้งจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นต้น 2. เทคโนโลยีจากพลังงานลมเป็นพลังงานธรรมชาติ ที่สะอาด บริสูทธ์

8. เทคโนโลยีท้องถิ่นและการนำเข้า

8.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น

8.1.1. ประเภทของเทคโนโลยีท้องถิ่นสามารถแบ่งได้ดังนี้ 1. เทคโนโลยีการเกษตร เช่น ความรู้ในการเพาะปลูกพืช การขยายพันธ์พืช เป็นต้น 2. เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การหมักน้ำปลา อาหารหมักดอง การทำเหล้าสาโท เป็นต้น 3. เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม ได้แก่เทคโนโลยีกระบวนการผลิต การวางแผนการสร้างโรงงาน เป็นต้น ความสามารถทางเทคโนโลยีของประเทศไทย อยู่ในระดับที่เรียกว่า รับเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาแล้วดัดแปลงและพัฒนาต่อเนื่องเพียงเล็กน้อย จึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีนำเข้าจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก สาเหตุนี้เนื่องมาจากความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต เพราะประเทศไทยมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องมีการดัดแปลงสิ่งใหม่ ๆ ก็อยู่ได้ จึงทำให้คนไทยไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างจริงจัง

8.2. เทคโนโลยีการนำเข้า

8.2.1. เทคโนโลยีที่ประเทศไทยได้นำเข้าประกอบด้วย 1. เทคโนโลยีการเกษตร เช่น เครื่องจักรทางการเกษตร ด้านการกำจัดศัตรูพืช เครื่องมือเก็บเกี่ยว การรักษาคุณภาพผลผลิตหลังจากเก็บเกี่ยว เป็นต้น 2. เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การผลิตวัคซิน การผลิตยา เป็นต้น 3. เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกกรมเคมี เป็นต้น 4. เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีอวัยวะเทียม การผลิตและพัฒนายา เป็นต้น 5. เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม เช่นโทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น 6. เทคโนโลยีการขนส่ง เช่น การเดินรถยนต์ รถไฟ เรือ เครื่องบิน การขนส่งระบบตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น 7. เทคโนโลยีระดับสูง (Hi-tech) เช่น คอมพิวเตอร์และอิเลคโทรนิคส์ การสื่อสารระบบเลเซอร์ หุ่นยนต์ เซมิคอนดัคเตอร์ เป็นต้น 8. เทคโนโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น การพัฒนาเซรามิค พลาสติก ยาง เป็นต้น

9. ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี

9.1. ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน

9.1.1. ทำให้มีความคล่องตัวและความสะดวกเร็วมากขึ้นกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตระจำวันก็สามารถทำได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน หรือใช้เวลาน้อย เป็นต้น

9.2. ด้านสิ่งแวดล้อม

9.2.1. ช่วยให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้น โดยเฉพาะความสามารถในการเอาชนะธรรมชาติ เพื่อให้มี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

9.3. ด้านพัฒนาประเทศ

9.3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

10. 1. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น 2. เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี 3. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน 4. เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง 5. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด 6. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยบทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอน

11. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ

11.1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศ และเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

11.2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม ด้านสังคม ช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริชองสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY ( Digital Accessible Information System)