1. เทคโนโลยีคืออะไร
1.1. เทคโนโลยี Technology คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
1.1.1. ตัวอย่างเทคโนโลยี
1.1.1.1. 1. การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกันทั่วโลก ทำให้การสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและค่าใช้จ่าย ที่ตํ่ากว่าระบบการสื่อสารแบบอื่น
1.1.1.2. 2. Mobile Payment การใช้สมาร์ทโฟนเพื่อชำระเงินบริการและเซอร์วิสต่างๆ แทนการใช้กระเป๋าสตางค์เริ่มมีแนวโน้มเติบโตขึ้นทั้งจากประเทศชั้นนำและในประเทศที่กำลังพัฒนา
2. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า
2.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น
2.1.1. เทคโนโลยีดั้งเดิม ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ในการดำเนิน ชีวิต การทำมาหากิน การต่อสู้กับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม ของคนในท้องถิ่นนั้น จะมีลักษณะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ของท้องถิ่น
2.1.1.1. ตัวอย่างเช่น
2.1.1.1.1. 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.1.1.1.2. 2)ภูมิปัญญาด้านประเพณีชาวบ้าน
2.2. เทคโนโลยีที่นำเข้า
2.2.1. แม้ว่าเทคโนโลยีทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย จะมีอยู่ในระดับสูง แต่เทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ยังกล่าวได้ว่าอยู่ในระดับต่ำจำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ของสังคมไทย
2.2.1.1. ตัวอย่างเช่น
2.2.1.1.1. 1) เทคโนโลยีการเกษตร
2.2.1.1.2. 2) เทคโนโลยีชีวภาพ
2.2.1.1.3. 3) เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม
2.2.1.1.4. 4) เทคโนโลยีทางการแพทย์
2.2.1.1.5. 5) เทคโนโลยีการสื่อสาร โทรคมนาคม
3. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
3.1. วิทยาศาสตร์
3.1.1. เทคโนโลยีสัมพันธ์กับความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเกิดการใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เทคโนโลยีก็เพื่อแก้ปัญหาทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีใช้เพื่อเสริมการแก้ปัญหา นั่นก็คือ การนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปคู่การปฏิบัตินั่นเอง
3.1.1.1. ตัวอย่างเช่น
3.1.1.1.1. 1. การใช้ความรู้ทางฟิสิกส์ผลิตเครื่องจักรกล
3.1.1.1.2. 2. การใช้ความรู้ทางเคมีผลิตยา
3.2. เกษตรศาสตร์
3.2.1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับเกษตรกรรมในปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร ทั้งการผลิตคิดค้นเครื่องจักรกลทางการเกษตรและพัฒนากระบวนการผลิตแทนการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้กำลังคน
3.2.1.1. ตัวอย่างเช่น
3.2.1.1.1. 1. การผสมเทียมของสุกร โค เป็นต้น
3.2.1.1.2. 2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อใช้ในการขยายพันธุ์พืช
3.3. ศึกษาศาสตร์
3.3.1. 1. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน 2. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
3.3.1.1. ตัวอย่างเช่น
3.3.1.1.1. 1. การเรียนหนังสือผ่านทางไกล
3.3.1.1.2. 2. การจัดทำสื่อการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ ของครูผู้สอน
3.4. โภชนศาสตร์
3.4.1. โภชนศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่งว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีผลผลิตทางการเกษตร อย่างหลากหลาย ดังนั้นเทคโนโลยีจึงสามารถนํามาใช้ในการถนอมอาหาร และการแปรรูปอาหาร เพื่อเลี้ยงประชากรของประเทศ หรือเพื่อส่งออกไปจําหน่ายในต่างประเทศ
3.4.1.1. ตัวอย่างเช่น
3.4.1.1.1. 1. การพาสเจอร์ไรซ์
3.4.1.1.2. 2.เทคโนโลยีการถนอมอาหารโดยการแช่เย็นและการแช่แข็ง
3.5. แพทย์ศาสตร์
3.5.1. วงการแพทย์ได้นำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ทั้งการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรค เพื่อให้การรักษาอาการเจ็บป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3.5.1.1. ตัวอย่างเช่น
3.5.1.1.1. 1. เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เป็นการนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับ คลื่นวิทยุมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค
3.6. พลังงานและสิ่งแวดล้อม
3.6.1. เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้นโดยเฉพาะความสามารถในการเอาชนะธรรมชาติเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยเฉพาะเทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานได้มากขึ้นเดินทางได้รวดเร็วขึ้น ด้วยการนำเอาเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคนและแรงงานสัตว์ด้านเทคโนโลยีพลังงานมนุษย์มีความสามารถสูงจากการรู้จักเอาพลังงานต่างๆมาใช้
3.6.1.1. ตัวอย่างเช่น
3.6.1.1.1. 1. เทคโนโลยีกังหันลม
3.6.1.1.2. 2.เทคโนโลยีจากพลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 รูปแบบ คือ ใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และใช้เพื่อผลิตความร้อน
4. ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี
4.1. 1) ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี
4.1.1. ตัวอย่างเช่น
4.1.1.1. 1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การค้นหาข้อมูลทางด้านการศึกษาง่ายขึ้น และกว้างขวางอย่างไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกมากขึ้นในการค้นคว้าวิจัยต่างๆ
4.1.1.2. 2. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ส่งประโยชน์ให้ประเทศชาติมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4.1.1.3. 3. ระบบการทำงาน เพราะจะต้องมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้นและงานบางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ก็มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทน
4.2. 2) ด้านสิ่งเเวดล้อม นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม
4.2.1. ตัวอย่างเช่น
4.2.1.1. 1. เทคโนโลยีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
4.2.1.2. 2. เทคโนโลยีที่ใช้ควบคุมและบำบัดมลพิษ
4.3. 3) ด้านการพัฒนาประเทศ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการสำรองตั๋วโดยสารรถไฟ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยตรวจจับคนร้าย การพัฒนาระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรลงสู่คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
4.3.1. ตัวอย่างเช่น
4.3.1.1. 1. ด้านการท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนประกอบหนึ่งในกระบวนการส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการให้บริการข่าวสารข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว และอำนวยความสะดวกในการสำรองที่นั่ง
4.3.1.2. 2.ด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศ และเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
4.3.1.3. 1. ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือการดำเนินธุรกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
5. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ
5.1. 1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายในประเทศและเพื่อการส่งออก
5.2. 2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์
5.2.1. ตัวอย่างเช่น
5.2.1.1. โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้
5.2.1.2. คนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)
5.3. 3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา
5.3.1. ตัวอย่างเช่น
5.3.1.1. 1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI
5.3.1.2. 2.การศึกษาทางไกล
5.3.1.3. 3.เครือข่ายการศึกษาซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก
5.3.1.4. 4.การใช้งานในห้องสมุดเป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย
5.3.1.5. 5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ การใช้ในงานประจำและงานบริหาร
5.4. 4.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
5.4.1. ตัวอย่างเช่น
5.4.1.1. 1. ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยาเก็บเงิน
5.4.1.2. 2. การสนับสนุนการรักษาพยาบาล สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
5.4.1.3. 3. สามารถให้คำปรึกษาทางไกลจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นท่าทางของผู้ป่วยได้ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
5.4.1.4. 4. เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
5.4.1.5. 5. เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และ ติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น
5.4.1.6. 6. ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียนการสอนทางไกลเป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย
5.4.1.6.1. เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางการแพทย์โดยการสามารถให้ คำปรึกษาทางไกล
5.5. 5.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากร ธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์
5.5.1. ตัวอย่างเช่น
5.5.1.1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพยากรณ์อากาศ