Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เทคโนโลยี by Mind Map: เทคโนโลยี

1. ในการพัฒนาปัจจุบันเกี่ยวกับเทคโนโลยีมีมากมายตามความเจริญเทคโนโลยีสารสนเทศในต่างประเทศให้ได้เป็นหลักต้นๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าในยุคปัจจุบันของยุคโลกาภิวัตน์ได้มีผลกระทบต่อสังคมโลก ตลอดจนขอบข่ายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ ฉะนั้น การพัฒนาที่นำเอาวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีมาเพื่อพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้าวิวัฒนาการของเทคโนโลยีในช่วงเวลาไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โลกปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุคที่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กำลังถาโถมเข้ามาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีนี้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การประกอบธุรกิจและการบริหารประเทศในหลายด้าน เช่น การแสวงหาความรู้ การผลิตสินค้าและบริการ การรักษาพยาบาล การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และการอำนวยความสะดวกสะบายในชีวิตประจำวันในมิติต่างๆ ในปัจจุบัน สินค้าและบริการต่างๆที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพที่สูงขึ้นแต่มีราคาที่ถูกลง เทคโนโลยีใหม่ทำให้รูปแบบของการผลิตสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก อุปกรณ์และวัสดุของเครื่องจักรและการสร้างอาคารบ้านเรือนสามารถพิมพ์ออกมาได้ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ เครื่องใช้ตามบ้านมีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้สามารถรับรู้คุณสมบัติต่างๆของสิ่งที่ใช้อยู่ ในการผลิตสินค้า ผู้ผลิตสามารถวางแผนและออกแบบโดยใช้ระบบโรงงานและผลิตภัณฑ์เสมือนจริงซึ่งการวางแผนการผลิตในทุกกระบวนการ จะถูกจำลองขึ้นมาได้ การตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ การเก็บรักษา การจัดจำหน่าย การติดต่อสื่อสารกับพนักงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยสะดวกกว่าเดิมมาก หุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การทำความสะอาดบ้าน การดูแลคนเจ็บป่วย การค้นหาข้อมูลข่าวสาร การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลภาษา และการโต้ตอบสนทนา กล่าวได้ว่า การเชื่อมโยงระหว่างการผลิตและการใช้สินค้ากับเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำให้สิ่งของต่างๆมีลักษณะของความเป็นมนุษย์โดยมีความเฉลียวฉลาดคล้ายคลึงกับมนุษย์มากขึ้นผลต่อการบริหารประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อการบริหารประเทศได้หลายประการ การดำเนินงานของภาคเศรษฐกิจต่างๆ การพัฒนาสิ่งสาธารณูปโภค การศึกษา สาธารณสุข การได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบาย การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยราชการในภาครัฐ และระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ล้วนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ได้

1.1. เช่น -การใช้เครื่องมือสมัยใหม่ในการค้นหาและการวิเคราะห์ข่าวสารข้อมูล และมีความรู้ทักษะในภาษาต่างประเทศ -การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความมั่นคง

2. 3. ความสัมพันธืระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

2.1. วิทยาศาสตร์ เป็นตัวความรู้ ส่วนเทคโนโลยีนั้นนำไปปฏิบัติให้เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น1. นักวิทยาศาตร์ทดลองการใช้ดาวเทียมในการสำรวจพื้นที่ต่างๆของโลก 2. นักวิทยาศสตร์ คิดค้นการประดิษฐิ์ที่ทันสมัยมากขึ้น

2.2. เกษตรศาสตร์ เป็นการพัฒนาเกษตรกรของไทยให้มีการเจริญก้าวหน้าได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้กันอย่างกว้างขวาง เช่น 1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อก็เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่นำมาประยุกต์ใช้ 2. การวิจัยเกี่ยวกับการดัดเเปลงพันธุกรรม (GMO)

2.3. ศึกษาศาสตร์ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาส่วนใหญ่นำมาใช้ใการเเก้ไขปัญหา เช่น การผู้ปัญหาผู้สอน ปัญหาผู้เรียน ปัญหาเรื่องเนื้อหา ปัญหาด้านเวลา ปัญหาเรื่องระยะทางนอกจากนั้นยังนำเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน เช่น 1.นักเรียนใช้คอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาข้อมูลในการเรียน 2. อาจารย์มีการจัดการเรียนการสอน ใน classroom

2.4. โภชนาศาสตร์ ความรู้เทคโนโลยีมาใช้ในการเเปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็น ผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยเเละสามรถเก็บรักษาได้นานโดยกระบวนการเเปรรูปด้านการใช้ความร้อน การเเช่เเข็ง การอบเเห้ง การใช้สารเคมี เช่น 1.การนำผลไม้มาเเปรรูปเป็นผลไม้อบเเห้ง 2. การทำอาหารเเช่เเข็ง

2.5. เเพทยศาสตร์ เป็นการที่ว่าด้วยการบำบัดโรคซึ่งเน้นการตรวจวินิฉัยโรค เเละการรักษาอาการของโรคให้ทุเลาลงเเละหายไปในที่สุดเพื่อให้ผู้ป่วยเเข็งเเรง โดยเเพทย์จะรักษาจะต้องค้นหาวิธีการเเละเทคโนโลยีมาใช้ได้รับการพัฒนาเช่นวัคซีน เครื่องมือเเพทย์ อุปกรณ์การตรวจสมมุติฐานของโรคเเละการใช้ในการบริหารสุขภาพ เช่น 1.เเพทย์มีการใช้เครื่องมือเเพทย์ที่ทันสมัย 2. เเพทย์ได้ใช้เลเซอร์ในการรักษาผู้ป่วย

2.6. พลังงานเเละสิ่งเเวดล้อม เป็นการนำมาใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์ การใช้พลังงานให้ประหยัดเเละใช้เทคโนโลยีสิ่งเเวดล้อมเป็นการนำความรู้เเละศิลปวิทยาการการดำรงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสมในสภาพเเวดล้อมที่กำลังเปลี่ยน 1. การผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานเเสงอาทิตย์ 2. การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ

3. 4.เทคโนโลยีท้องถิ่นเเละการนำเข้า

3.1. เทคโนโลยีท้องถิ่นคือ ศิลปะในการสร้าง สิ่งประยุกต์ เครื่องมือเครื่องใช้ให้สอดคล้องเหมาะสมวิถีชีวิตสภาพท้องถิ่นรวมทั้งสิ่งที่ท้องถิ่นคิดขึ้นเองหรือสิ่งที่นำมาดัดเเปลงปรับปรุงหรือพัฒนาให้เกิดประโยชน์ ใช้สอยในท้องถิ่น เเละเกิดเป็นสิ่งใหม่ๆ เช่น 1. การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาของพื้นบ้านให้เป็นที่รู้จัก 2. การนำภูมิปัญญามาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี

3.1.1. 1. เทคโนโลยีการเกษตร เช่น ความรู้ในการเพาะปลูกพืช การขยายพันธ์พืช เป็นต้น 2. เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การหมักน้ำปลา อาหารหมักดอง การทำเหล้าสาโท เป็นต้น 3. เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม ได้แก่เทคโนโลยีกระบวนการผลิต การวางแผนการสร้างโรงงาน เป็นต้น ความสามารถทางเทคโนโลยีของประเทศไทย อยู่ในระดับที่เรียกว่า รับเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาแล้วดัดแปลงและพัฒนาต่อเนื่องเพียงเล็กน้อย จึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีนำเข้าจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก สาเหตุนี้เนื่องมาจากความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต เพราะประเทศไทยมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องมีการดัดแปลงสิ่งใหม่ ๆ ก็อยู่ได้ จึงทำให้คนไทยไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างจริงจัง

3.2. เทคโนโลยีท้องถิ่นเเละเทคโนโลยีนำเข้าเป็นเทคโนโลยีท้องถิ่นเกิดจากกระบวนการภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำมาพัฒนา ส่วนเทคโนโลยีนำเข้าคือสิ่งที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเพราะประเทศไทยไม่สามารถที่จะผลิตเอง

3.3. เทคโนโลยีนำเข้าหมายถึง เทคโนโลยีที่จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ของสังคมไทยเเละนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อเป็นการพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้า เช่น 1. ประเทศไทยนำเข้าโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ วิทยุ จากต่างประเทศ 2.การนำเข้ารถยนต์ เครื่องบิน จากต่างประเทศ เพราะประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตเองได้

3.3.1. 1. เทคโนโลยีการเกษตร เช่น เครื่องจักรทางการเกษตร ด้านการกำจัดศัตรูพืช เครื่องมือเก็บเกี่ยว การรักษาคุณภาพผลผลิตหลังจากเก็บเกี่ยว เป็นต้น 2. เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การผลิตวัคซิน การผลิตยา เป็นต้น 3. เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกกรมเคมี เป็นต้น 4. เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีอวัยวะเทียม การผลิตและพัฒนายา เป็นต้น 5. เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม เช่นโทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น 6. เทคโนโลยีการขนส่ง เช่น การเดินรถยนต์ รถไฟ เรือ เครื่องบิน การขนส่งระบบตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น 7. เทคโนโลยีระดับสูง (Hi-tech) เช่น คอมพิวเตอร์และอิเลคโทรนิคส์ การสื่อสารระบบเลเซอร์ หุ่นยนต์ เซมิคอนดัคเตอร์ เป็นต้น 8. เทคโนโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น การพัฒนาเซรามิค พลาสติก ยาง เป็นต้น

4. 5.เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ

4.1. 3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านการศึกษาแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาไว้ 5 ประเด็น คือ 3.1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI 3.2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการประชุมทางไกล (Video Teleconference) 3.3.เครือข่ายการศึกษา(Education Network) ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็นต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก 3.4.การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย 3.5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation) การใช้ในงานประจำและงานบริหาร (Computer Manage Instruction) เป็นการประยุกต์ใช้ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

4.2. ประเภทของเทคโนโลยี

4.2.1. 1.เทคโนโลยีกับการพัฒนาเศรษฐกิจทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

4.2.2. 2.เทคโนโลยีกับการพัฒนาสังคมทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY

4.2.3. 4. เทคโนโลยีด้านสาธารณะสุขเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ

4.2.4. 5. เทคโนโลยีกับการพัฒนาสิ่งเเวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GISเข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม

5. 1. ความหมายของเทคโนโลยี : การใช้ความรู้เครื่องมือความคิด หลักการเทคนิค ความรู้ระเบียบ ตลอดจนการทำงานผลงานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงเเละเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การใช้อุปกรณ์การสื่อสารเช่นโทรศัพท์ การใช้คอมพิวเตอร์ เเละอินเตอร์เน็ต

6. 2.ความสัมพันธ์เเละบทบาทเทคโนโลยี

6.1. ด้านการดำรงชวิต

6.1.1. ทำให้มีความคล่องเเคล้วตัวสะดวกในการทำกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันก็สามารถทำได้ในหลายอย่างในเวลาเดียวกันหรือใช้เวลาน้อย เช่น การในโทรศัพท์ในการค้นหาสถานที่ การใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูลเเละการใช้หุ่นยนต์เเทนเเรงงานมนุษย์

6.2. ด้านการพัฒนาประเทศ

6.2.1. เทคโนโลยีช่วยในการพัฒนาสังคมกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ เช่น โรงเรียนชนบทมีการพัฒนาการใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัย การใช้เครื่องมือของเเพทย์

6.3. ด้านสิ่งเเวดล้อม

6.3.1. เทคโนโลยีใช้ในการพัฒนาเเละต้องเป็ยสิ่งที่ดีต่อสิ่งเเวดล้อมนำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GISจัดมาเข้าระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดต่ำเเหน่งที่ตั้งผิวเปลือกโลกซึ่งรวบรวมจากสิ่งต่างๆเช่น ข้อมูลพื้นที่ ภาพถ่ายดาวเทียม