Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เทคโนโลยีที่สำคัญ by Mind Map: เทคโนโลยีที่สำคัญ

1. 3. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

1.1. 3.1วิทยาศาสตร์

1.1.1. 3.1.1 วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี จากความหมายของคำว่า "วิทยาศาสตร์" และความหมายของคำว่า "เทคโนโลยี" ที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่นำไปใช้อธิบายได้ว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เช่น นักชีววิทยาจะอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อขวั้นและขูดเปลือกของพืชยืนต้นออกจะมีรากงอกออกมาได้ นักฟิสิกส์ก็จะอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก จึงมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น เป็นต้น ส่วนเทคโนโลยีนั้นจะเป็นความรู้ว่าจะทำอย่างไร ตัวอย่างเช่น จะขยายพันธุ์พืชโดยการตอนได้อย่างไร จะผลิตกระแสไฟฟ้านำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร จะผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ โดยนำไฟฟ้ากระแสมาใช้ได้อย่างไร เหล่านี้ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าวิทยาศาสตร์เป็นตัวความรู้ ส่วนเทคโนโลยีนั้นเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติให้เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ วัดได้ หรือจับต้องได้ โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติ ต่าง ๆ มาใช้ในทางปฏิบัติ

1.2. 3.2 เกษตรศาสตร์

1.2.1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร วิทยาการที่เกี่ยวข้องกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการเกษตร ได้แก่ 1. ด้านการจัดการสาขาพืชและการจัดการสาขาสัตว์การจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 2. การจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้แก่เกษตรกร 3. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้เกษตรกร 4. การให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร 5. การศึกษา วิจัย ค้นคว้า และทดลอง 6. การวางแผนการดำเนินงาน และการจัดการ ตัวอย่าง - การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ : เทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการเกษตร

1.3. 3.3 ศึกษาศาสตร์

1.3.1. เพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วยคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีการศึกษาได้สรุปความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาดังนี้ 1. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนม2. เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี 3. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน 4. เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง 5. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด 6. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยบทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอนจึงมีอยู่ 4 บทบาท ดังนี้ 1. บทบาทด้านการจัดการ 2. บทบาทด้านการพัฒนา 3. บทบาทด้านทรัพยากร 4. บทบาทด้านผู้เรียนจาก Domain of Education Technology จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การจัดระเบียบ (organizing) และการบูรณาการ (integrating) องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือกล่าวได้ว่า เป็นการเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้องค์ประกอบต่างๆ

1.4. 3.4 โภชนศาสตร์

1.4.1. โภชนศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่งว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต โดยเน้นเรื่องอาหาร พิษภัยอาหาร โภชนาการศึกษา การส่งเสริมภาวะ โภชนาการได้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้มีสุขภาพ พลานามัยดี ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีผลผลิตทางการเกษตร อย่างหลากหลาย สามารถนํามาบริโภคและใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร การถนอมอาหา่ร และการแปรรูปอาหาร เพื่อเลี้ยงประชากรของประเทศ หรือเพื่อส่งออกไปจําหน่ายในต่างประเทศ 1. เทคโนโลยีการถนอมอาหารโดยการพาสเจอร์ไรซ์และการสเตอริไลซ์ สามารถทําได้ 2 วิธี คือ การพาสเจอร์ไรซ์ และการ สเตอริไลซ์ 2. เทคโนโลยีการถนอมอาหารโดยการแช่เย็นและการแช่แข็ง ใช้หลักการที่ว่า ความเย็นหรืออุณภูมิต่ำจะช่วยชะลอการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทำให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร 3. เทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปมังคุด มังคุดเป็นผลไม้ที่ตลาดมีความต้องการสูง 4. การรเร่งกระบวนการหมักน้ำปลาโดยการประยุกต์ใซม์ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตน้ำปลามีคุณภาพดีและมีกลิ่นหอม 5. การถนอมอาหารโดยการฉายรังสี เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้แทนวิธีการถนอมอาหารด้วยความร้อน

1.5. 3.5 แพทยศาสตร์

1.5.1. เทคโนโลยีทางการแพทย์วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจ การรักษาพยาบาล และการป้องกันโรค ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิศวกรรมเป็นหลักในการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ

1.6. 3.6 พลังงานและสิ่งแวดล้อม

1.6.1. เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้นโดยเฉพาะความสามารถในการเอาชนะธรรมชาติ เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยเฉพาะเทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานได้มากขึ้นเดินทางได้รวดเร็วขึ้นด้วยการนำเอาเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคนและแรงงานสัตว์ด้านเทคโนโลยีพลังงานมนุษย์มีความสามารถสูงจากการรู้จักเอาพลังงานต่างๆมาใช้เช่นพลังงานแสงอาทิตย์พลังงานน้ำมันแก๊สธรรมชาติและพลังงานจากน้ำตกฯลฯ

2. 5.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาประเทศ

2.1. 1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

2.1.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

2.2. 2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม

2.2.1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)

2.3. 4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสาธารณสุข

2.3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้

2.3.1.1. 4.1ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย

2.3.1.1.1. ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยาเก็บเงิน

2.3.1.2. 4.2การสนับสนุนการรักษาพยาบาล

2.3.1.2.1. โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลต่างๆเข้าด้วยกันสามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลระดับสูงของแพทย์ได้

2.3.1.3. 4.3 ให้คำปรึกษาทางไกล

2.3.1.3.1. โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้าหรือท่าทางของผู้ป่วยได้ให้ข้อมูลที่ส่งไปยังเอกสารหรือภาพเพื่อประกอบการแพทย์

2.3.1.4. 4.4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

2.3.1.4.1. จะช่วยในการให้ความรู้ของหน่วยงานสาธารณสุขหรือหน่วยงานสาธารณประโยชน์ได้อย่างสะดวกด้วยการใช้สื่อต่างๆเช่นภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงและอื่น ๆ เป็นต้น

2.3.1.5. 4.5เทคโนโลยีสารสนเทศ

2.3.1.5.1. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และ ติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

2.3.1.6. 4.6 ในด้านการให้ความรู้

2.3.1.6.1. เรียนรู้เกี่ยวกับการแพทย์ทางอินเทอร์เน็ตและการแพทย์ทางเลือก ด้วย

2.4. 5.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

2.4.1. และทรัพยากร ธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม

2.5. 3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา

2.5.1. 3.1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI

2.5.2. 3.2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการประชุมทางไกล (Video Teleconference)

2.5.3. 3.3 เครือข่ายการศึกษา (Education Network) ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในรูปแบบต่างๆเช่น Electronic Mail, File Transfer Protocol, Telnet, World Wide Web เป็นต้น ข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก

3. 4.เทคโนโลยีนำเข้า

3.1. 1) เทคโนโลยีการเกษตร

3.1.1. ที่จำเป็นต้องนำเข้าจาก ต่างประเทศ ได้แก่ สารเคมีป้องกันกำจัด ศัตรูพืช การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ซึ่งเป็นการปลูกพืชในน้ำยา ที่มีธาตุอาหารครบ ทำให้สามารถ ควบคุมผลผลิต และคุณภาพของพืชได้ นอกจากนี้อาจจะต้อง นำเข้า เทคโนโลยี ในการเก็บรักษา คุณภาพ ผลิตผลทางการเกษตร เพื่อการส่งออก เครื่องจักรกล ที่ทันสมัย มาช่วยทุ่นแรงในการ ทำไร่นา

3.2. 2) เทคโนโลยีชีวภาพ

3.2.1. มีการนำเข้าเทคโนโลยีชีวภาพ จากต่างประเทศมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ทางด้านการแพทย์ เช่น การผลิตวัคซีน ป้องกันโรคต่าง ๆ การผลิตยาบางชนิด

3.3. 3) เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม

3.3.1. มีการนำเข้าเทคโนโลยี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรม เคมี เช่น อุตสาหกรรมกรดกำมะถัน ต้องใช้วัตถุดิบ จากต่างประเทศ

3.4. 4) เทคโนโลยีทางการแพทย์

3.4.1. เช่น เทคโนโลยีการผลิต และการพัฒนายาใหม่ เทคโนโลยีการ วินิจฉัยโรค เทคโนโลยีของอวัยวะเทียม เป็นต้น

3.5. 6) เทคโนโลยีการขนส่ง

3.5.1. ได้แก่ การเดินรถ เช่น รถยนต์ รถไฟ รถไฟฟ้าการเดินเรือ เครื่องบิน การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ เป็นต้น

3.6. 7) เทคโนโลยีระดับสูง (ไฮเทค)

3.6.1. ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์การสื่อสาร ระบบเลเซอร์ หุ่นยนต์ เป็นต้น

3.7. 8) เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์

3.7.1. นับเป็นกำลังสำคัญ ในการผลักดันความก้าวหน้า ด้านอุตสาหกรรม เป็นอย่างมาก

4. 1.เทคโนโลยีคืออะไร ?

4.1. 1.1 ความหมายของเทคโนโลยี

4.1.1. เทคโนโลยี คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การส่งผ่าน การสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ รวมถึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสนเทศ และการจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัว

4.2. 1.2ตัวอย่างของเทคโนโลยี

4.2.1. 1.2.1 เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือ ความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆ

4.2.2. 1.3.1 Mobile Payment การใช้สมาร์ทโฟนเพื่อชำระเงินบริการและเซอร์วิสต่างๆ แทนการใช้กระเป๋าสตางค์เริ่มมีแนวโน้มเติบโตขึ้นทั้งจากประเทศชั้นนำและในประเทศที่กำลังพัฒนา ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนสำหรับบ้านเราคือเริ่มมีการใช้สมาร์ทโฟน (บางรุ่น) แทนบัตรโดยสารรถไฟฟ้า BTS แล้ว

4.2.3. 1.3.2 Wearable devices will proliferate อุปกรณ์สวมใส่ไฮเทคมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยการจุดประกายความหวังสำหรับอนาคตที่เริ่มจาก Google Glass แว่นตาอัจฉริยะจากค่าย Google ที่ปรากฏออกมาทำให้มีผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีชั้นนำเริ่มคิดค้นหาสิ่งใหม่ๆ มาตอบโจทย์ผู้บริโภคในอนาคตมากขึ้น และในปี 2014 จะเป็นปีแห่งการแตกหน่อสินค้าไอทีประเภทอุปกรณ์สวมใส่อีกมากมายที่เราคาดไม่ถึง ยกตัวอย่างเช่นนาฬิกาไฮเทค Sony Smartwatch และ Samsung Galaxy Gear ที่ถูกนำมาวางขายเคียงคู่กับสมาร์ทโฟนในร้านค้าชั้นนำหลายแห่งแล้ว

4.2.4. 1.2.2 เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี

4.2.5. 1.2.3 เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม

4.3. 1.3 ตัวอย่างของเทคโนโลยี

5. 2.ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี

5.1. 2.1 ด้านการดํารงชีวิตประจําวัน

5.1.1. ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตเพราะวิวัฒนาการเหล่านั้นแทรกซึม อยู่ในทุกตารางการใช้ชีวิตของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอัน มาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ (Computer Mediated Communication - CMC) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบสองทาง ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกันได้ กล่าวถึง อิทธิพลของเครื่องมือการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการของมนุษยชาติ อารยธรรมยุคโลกาภิวัตน์ อารยธรรมของโลก โลกทั้งโลกจะเชื่อมต่อกันด้วย ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาพของสังคมจะเปลี่ยนไปจากยุคอุตสาหกรรมเป็นโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งแตกต่างไปจากเดิมในรูปแบบของการติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนาจนถึงการสื่อสารกันโดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมาก ขึ้น ในปัจจุบันมีสถานีวิทยุ โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้มีความเสมือนกับโลกของจริงมาที่สุดการติดต่อสื่อสารผ่านโลก Cyber อาจมีผลกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ เพราะมนุษย์เริ่มให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีในด้านนี้มากเกินไปการใช้ เทคโนโลยีด้านนี้ เราควรรู้จักวิธีใช้ และความเหมาะสม เพื่อการใช้งานที่เป็นประโยชน์ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.2. 2.2 ด้านการพัฒนาประเทศ

5.2.1. 2.2.1 ด้านเศรษฐกิจ

5.2.1.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออกอีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

5.2.1.2. ทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)

5.2.2. 2.2.2 ด้านด้านสังคม

5.2.3. 2.2.3 ด้านการศึกษา

5.2.3.1. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation) การใช้ในงานประจำและงานบริหาร (Computer Manage Instruction) เป็นการประยุกต์ใช้ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

5.2.4. 2.2.4 ด้านสารธณสุข

5.2.4.1. เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ

5.3. 2.3 ด้านสิ่งเเวดล้อม

5.3.1. นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม