1. ความหมาย
1.1. ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้อินเตอร์เน็ตโดยผ่านโทรศัพท์มือถือ( wap) ปาล์มคอมพิวเตอร์( Palm computer) การประชุมทางไกล( Tele Conference) เป็นต้น
1.2. เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
2. ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี
2.1. ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน
2.1.1. เทคโนโลยีในปัจจุบันมีความสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันในหลายๆด้านเพื่ออำนวยความสะดวก
2.1.2. เช่น โทรศัพท์มือถือพกพา คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถูกนำมาประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย
2.1.3. เทคโนโลยีนำมาซึ่งความเปลี่ยนเปลงในวิถีชีวิต การทำงาน การเรียน การทำกิจกรรมต่างๆ
2.2. ด้านการพัฒนาประเทศ
2.2.1. 1)การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
2.2.2. 2)พัฒนาการพัฒนาด้านด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)
2.2.3. 3)พัฒนาด้านศึกษา แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาไว้ 5 ประเด็น คือ
2.2.3.1. 3.1 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI
2.2.3.2. 3.2 .การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการประชุมทางไกล (Video Teleconference)
2.2.3.3. 3.3 .เครือข่ายการศึกษา(Education Network) ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็นต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก
2.2.3.4. 3.4การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย
2.2.3.5. 3.5 การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation) การใช้ในงานประจำและงานบริหาร (Computer Manage Instruction) เป็นการประยุกต์ใช้ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2.3. ด้านสิ่งเเวดล้อม
2.3.1. การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากร ธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม
2.3.2. เช่น พลังงานแสงอาทิตย์พลังงานน้ำมันแก๊สธรรมชาติและพลังงานจากน้ำตก ) เทคโนโลยีจากพลังงานลมเป็นพลังงานธรรมชาติ ที่สะอาด ฯลฯ
2.3.2.1. 1) เทคโนโลยีผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ เป็นระบบการผลิตกระแส-ไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสําหรับใช้งานในชนบทที่ไม่มีระบบสายไฟส่งไฟฟ้า 2) เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตความร้อน มีการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบใช้งานต่างๆเช่น เครื่องผลิตนํ้าร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องอบแห้งจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นต้น
3. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ
3.1. 1.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)
3.2. 2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากร ธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม
3.3. 3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้
3.3.1. 1.ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยาเก็บเงิน
3.3.2. 2.การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
3.3.3. 3. สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยี สารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
3.3.4. 4.เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
3.4. 4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
4. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า
4.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น
4.1.1. คือ เทคโนโลยีดั้งเดิม ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ในการดำเนิน ชีวิต การทำมาหากิน การต่อสู้กับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม ของคนในท้องถิ่นนั้น
4.1.1.1. 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) หรือ ภูมิปัญญาไทย เป็นการสะสม องค์ความรู้ขึ้นมาจาก ประสบการณ์ของชีวิต สังคม และในสภาพแวดล้อม ที่แตกต่างกัน และมีการถ่ายทอดสืบ ต่อกันมา เป็นวัฒนธรรมมีการปรับตัว มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น ใช้รถไถ แทนควาย รถอีแต๋นแทนเกวียน
4.1.1.2. 2) ระดับของเทคโนโลยีท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ
4.1.1.2.1. 2.1) เทคโนโลยีระดับต่ำ (Low technology) ส่วนมากเป็น เทคโนโลยีที่มีอยู่แต่เดิม ตั้งแต่ยุคโบราณ ตลอดจนใช้แรงงาน ในท้องถิ่น มีการสืบทอดเทคโนโลยีต่อ ๆ กันมาพร้อมกับขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ดังนั้น จึงอาจเรียก เทคโนโลยีอย่างง่าย ๆ
4.1.1.2.2. 2.2) เทคโนโลยีระดับกลาง (Intermediate technology) เกิดจากการปรับปรุงพัฒนา เทคโนโลยี ระดับต่ำ หรือเทคโนโลยีพื้นบ้านขึ้นมา เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นมากขึ้น
4.1.1.2.3. 2.3) เทคโนโลยีระดับสูง (High technology) เป็นเทคโนโลยีที่ได้จาก ประสบการณ์อันยาวนาน มีความสลับซับซ้อน ผู้ใช้ต้องรู้จักดัดแปลงเทคโนโลยีเดิม ให้มีคุณภาพดีขึ้น จนก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยีระดับสูงนั้น อาจจำเป็นต้องอาศัย การศึกษา เรียนรู้ ในสถาบัน การศึกษาชั้นสูง
4.2. เทคโนโลยีนำเข้า
4.2.1. เทคโนโลยีต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ของสังคมไทย
4.2.1.1. เทคโนโลยีการเกษตร ที่จำเป็นต้องนำเข้าจาก ต่างประเทศ ได้แก่ สารเคมีป้องกันกำจัด ศัตรูพืช การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ซึ่งเป็นการปลูกพืชในน้ำยา ที่มีธาตุอาหารครบ ทำให้สามารถ ควบคุมผลผลิต และคุณภาพของพืชได้ นอกจากนี้อาจจะต้อง นำเข้า เทคโนโลยี ในการเก็บรักษา คุณภาพ ผลิตผลทางการเกษตร เพื่อการส่งออก เครื่องจักรกล ที่ทันสมัย มาช่วยทุ่นแรงในการ ทำไร่นา
4.2.1.2. เทคโนโลยีชีวภาพ มีการนำเข้าเทคโนโลยีชีวภาพ จากต่างประเทศมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ทางด้านการแพทย์ เช่น การผลิตวัคซีน ป้องกันโรคต่าง ๆ การผลิตยาบางชนิด
4.2.1.3. เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม มีการนำเข้าเทคโนโลยี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรม เคมี เช่น อุตสาหกรรมกรดกำมะถัน ต้องใช้วัตถุดิบ จากต่างประเทศ
4.2.1.4. เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีการผลิต และการพัฒนายาใหม่ เทคโนโลยีการ วินิจฉัยโรค เทคโนโลยีของอวัยวะเทียม เป็นต้น
4.2.1.5. เทคโนโลยีการสื่อสาร โทรคมนาคม นับเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง สำหรับสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ในปัจจุบัน และอนาคต ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน เช่น โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยี ที่นำเข้าจาก ต่างประเทศแทบทั้งสิ้น
4.2.1.6. เทคโนโลยีการขนส่ง ได้แก่ การเดินรถ เช่น รถยนต์ รถไฟ รถไฟฟ้าการเดินเรือ เครื่องบิน การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ เป็นต้น
4.2.1.7. เทคโนโลยีระดับสูง (ไฮเทค) ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์การสื่อสาร ระบบเลเซอร์ หุ่นยนต์ เป็นต้น
5. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น
5.1. วิทยาศาสตร์
5.1.1. การนำความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใฃ้เป็นเทคโนโลยีต่างๆ
5.2. เกษตรศาสตร์
5.2.1. นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ทั้งการผลิตคิดค้นเครื่องจักรกลทางการเกษตรและพัฒนากระบวนการผลิตแทนการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้กำลังคน
5.2.1.1. การใช้ระบบเซ็นเซอร์วัดปริมาณน้ำใน
5.2.1.2. เครื่องเก็บเกี่ยวผลผลิต
5.3. ศึกษาศาสตร์
5.3.1. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาทำให้มีการพัฒนาความรู้อย่างกว้างขวาง
5.3.1.1. แท็บเล็ต
5.3.1.2. คอมพิวเตอร์
5.4. โภชนศาสตร์
5.4.1. นำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิดอาหารต่างๆ โดยจะทำให้เกิความรวดเร็วในการผลิตอาหารได้ในปริมาณมากขึ้นและถูกสุขอนามัย
5.4.1.1. การพาสเจอร์ไรซ์
5.4.1.2. การรเร่งกระบวนการหมักน้ำปลาโดยการประยุกต์ใซม์
5.5. แพทย์ศาสตร์
5.5.1. การนำพัตนายารวมทั้งเครื่องมือต่างๆมาใช้ในการรักษาพยาบาลทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
5.5.1.1. เครื่อง GentleYAG Laser
5.5.1.2. เครื่อง DETOX-ล้างลำไส้
5.6. พลังงานและสิ่งแวดล้อม
5.6.1. เทคโนโลยีสัมพันธ์กับพลังงานและสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวกับการนําพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การใช้พลังงานแบบประหยัด และการใช้เทค โนโลยีเพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5.6.1.1. แผงโซล่าเซลล์
5.6.1.2. หลอดไฟที่ประหยัดไฟมากชึ้น