Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เทคโนโลยี by Mind Map: เทคโนโลยี

1. เทคโนโลยีที่นำเข้า แม้ว่าเทคโนโลยีทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย จะมีอยู่ในระดับสูง แต่เทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ยังกล่าว ได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ การสื่อสาร โทรคมนาคม การขนส่ง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ของสังคมไทย

2. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า

2.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น หมายถึง ศิลปะในการสร้าว ประยุกต์ หรือดัดแปลง เครื่องมือใช้ให้สอดคล้อง เหมาะสมวิถีชีวิต สภาพท้องถิ่นได้อย่างมีประโยชน์และประหยัดเทคโนโลยีท้องถิ่น รวมทั้งสิ่งที่ท้องถิ่นคิดขึ้นเอง

3. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

3.1. วิทยาศาสตร์

3.1.1. จากความหมายของคำว่า "วิทยาศาสตร์" และความหมายของคำว่า "เทคโนโลยี" ที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่นำไปใช้อธิบายได้ว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เช่น นักชีววิทยาจะอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อขวั้นและขูดเปลือกของพืชยืนต้นออกจะมีรากงอกออกมาได้ นักฟิสิกส์ก็จะอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก จึงมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น เป็นต้น ส่วนเทคโนโลยีนั้นจะเป็นความรู้ว่าจะทำอย่างไร ตัวอย่างเช่น จะขยายพันธุ์พืชโดยการตอนได้อย่างไร จะผลิตกระแสไฟฟ้านำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร จะผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ โดยนำไฟฟ้ากระแสมาใช้ได้อย่างไร เหล่านี้ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าวิทยาศาสตร์เป็นตัวความรู้ ส่วนเทคโนโลยีนั้นเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติให้เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ วัดได้ หรือจับต้องได้ โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติ ต่าง ๆ มาใช้ในทางปฏิบัติ

3.2. เกษตรศาสตร์

3.2.1. เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตกซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (คริสต์ศตวรรษที่ 16-17) ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าว หน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา ส่วนในความหมาย ของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขาย แต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พ.ศ. 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนา จะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและ การแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก

3.3. ศึกษาศาสตร์

3.3.1. การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น - ปัญหาผู้สอน - ปัญหาผู้เรียน - ปัญหาด้านเนื้อหา - ปัญหาด้านเวลา ปัญหาเรื่องระยะทางนอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วย

3.4. โภชนศาสตร์

3.4.1. โภชนศาสตร์ หรือ โภชนาการ เป็นวิชาวิทยาศาสตร์แขนง-หนึ่งที่กล่าวถึงความสำคัญของอาหารที่มีต่อสุขภาพของร่างกาย “ ศัพท์เฉพาะทางโภชนศาสตร์ที่ควรทราบ “ 1. อาหารที่กำหนดให้ (DIET) เป็นอาหารที่ได้กำหนดไว้หรือให้ รายชื่อตายตัวของอาหารนั้นแต่ละมื้อโดยมักจะกำหนดเป็นรายการอาหาร 2 .ผู้กำหนดอาหาร(Dietitian หรือ Dietecian) คือบุคลผู้ด้ำเนินงานด้านจัดปรุงอาหาร โดยยึดหลักวิชาโภชนศาสตร์ ในการจัดเตรียมอาหารบุคคลผู้นี้ต้อง คิดทำรายการอาหารเพื่อบริโภคเป็นมื้อรวมทั้งอาหารปกติและสำหรับคนป่วย 3. อาหาร (Food) คือสิ่งที่มนุษย์นำมาบริโภคได้ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายซ่อมแซมชำรุดส่วนที่สึกหรอให้พลังงานและความอบอุ่นตลอดจนช่วยในการคุ้มกันโรค พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ได้นิยามคำศัพท์คำว่า อาหาร ว่า อาหาร คือของกินหรือของค้ำจุนชีวิต ได้แก่ วัตถุทุกชนิดที่กิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายแต่ไม่รวมถึงยา วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร 4. อุปนิสัยในการบริโภค (Food Habbit) ศึกษาการกินและความเคยชินในการบริโภค 5. ทุพโภชนาการ(Mulnutrition) เป็นสภาพร่างกายที่ขาดสารอาหาร หรืออาจเรียกว่าเป็นโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร 6. สารอาหารหรือธาตุอาหาร(Nutrients) ได้แก่สารเคมีต่างๆที่มีอยู่ในอาหารที่คน รับประทานเข้าไป แบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ๆ คือ 6.1 Inorganic compounds ประกอบด้วยเกลือแร่และน้ำ 6.2 Organic compounds ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน และวิตามิน 7. โภชนาการ(Nutritionist) คือบุคคลที่เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โภชนศาสตร์แล้วนำเอาความรู้ไปให้การศึกษา อบรม และดำเนินการ ส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง ประโยชน์ของอาหาร 1. ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย 2. ทำให้มีการเจริญเติบโต 3. ช่วยบำรุงและกระตุ้นอวัยวะต่างๆให้ทำงาน 4. ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรค บำรุงสุขภาพ 5. ช่วยในการสืบพันธุ์ 6. ช่วยให้มีชีวิตยืนยาว

3.5. แพทยศาสตร์

3.5.1. การพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้งทั้งทางด้านเทคโนโลยีการประมวลผล ซอฟต์แวร์เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ลาธารณสุขมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยและการจัดการบริหารงานของระบบโรงพยาบาลและสาธารณสุขจวบจนวันนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ไม่เพียงจำกัดแค่การให้บริการในวงการแพทย์ สาธารณสุข และโรงพยาบาลอีกต่อไป แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญทำให้ประชาชนและผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์สาธารณสุขรวมทั้งใช้บริการสาธารณสุขจากที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทาง

3.6. พลังงานและสิ่งแวดล้อม

3.6.1. เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้น โดยเฉพาะความสามารถในการเอาชนะธรรมชาติ เพื่อให้มี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยี ช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานได้มากขึ้น เดินทางได้รวดเร็วขึ้น สามารถมองเห็นได้ไกลกว่าที่ดวงตามนุษย์จะมองเห็นได้ สามารถติดต่อสื่อสารและสื่อความหมายกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางมาพบกันฯลฯ เช่น มนุษย์สามารถเดินทางได้ถึงวันละ 408,000 ไมล์โดยทางอากาศ เป็นต้น ที่สำคัญก็คือมนุษย์ได้อาศัยเทคโนโลยีในการผลิตอาหาร ทำให้ได้อาหารมากขึ้นต่างกับสมัยก่อนมนุษย์ใช้ก้อนหินกิ่งไม้หรือหอกในการหาอาหาร ทำให้จับสัตว์ได้เพียงจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อมนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้น ด้วยการใช้ธนูและเครื่องจับสัตว์ ทำให้มนุษย์สามารถล่าสัตว์ได้มากกว่าเดิมต่อมามนุษย์ก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดก็กลายเป็นเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูก ด้านเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ มนุษย์ได้พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ จากการใช้พันธุ์พื้นบ้านไปเป็นการคัดเลือกพันธุ์ การหาพันธุ์ใหม่ และการให้อาหารที่มีคุณภาพ ฯลฯ ด้านการเพาะปลูก มนุษย์สามารถผลิตเครื่องมือที่ดีขึ้น เช่น สามารถผลิตและใช้คันไถ รู้จักการใช้ปุ๋ย การชลประทาน ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้สูงมากขึ้น ด้านการอุตสาหกรรม เทคโนโลยีทำให้เกิดการปฏิวัติ ทางอุตสาหกรรม ด้วยการนำเอาเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคนและแรงงานสัตว์ ด้านเทคโนโลยีพลังงงาน มนุษย์มีความสามารถสูงจากการรู้จักเอาพลังงานต่างๆ มาใช้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และพลังงานจากน้ำตก ฯลฯ

4. เทคโนโลยี

4.1. ความหมาย

4.1.1. เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

4.2. ความสำคัญของเทคโนโลยี

4.2.1. 1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์

4.2.2. 2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา

4.2.3. 3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ

4.3. การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยี มีความสำคัญ 3 ประการ

4.3.1. 1.ประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้ เที่ยงตรงและรวดเร็ว

4.3.2. 2.ประสิทธิผล (Productivity) เกิดผลผลิตเต็มที่ ได้ประสิทธิผลสูงสุด

4.3.3. 3.ประหยัด (Economy) ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก

4.4. ประโยชน์ของเทคโนโลยี

4.4.1. - ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ แถมยังช่วยพัฒนาระบบอารายธรรมโดยทางอ้อมอีกด้วย เรื่องราวจากการเริ่มต้นเทคโนโลยี ยาวนานจนบัดนี้ทำให้มนุษย์เราแทบไม่สามารถแยกจากเทคโนโลยีไปได้แล้ว -ช่วยให้มนุษย์มีความสะดวกสบายขึ้น -ช่วยให้เราทันสมัย -ช่วยประหยัดเวลา -ช่วยในการทำงาน

4.5. บทบาทหน้าที่ของเทคโนโลยี

4.5.1. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา

5. ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี

5.1. ด้านสิ่งแวดล้อม

5.1.1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในการส่งเสริมป้องกันและ แก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในระบบ สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นระบบฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับการวางแผนด้านสิ่งแวดล้อมในระดับนโยบาย หรือการนำดาวเทียมเข้ามาช่วยในการสำรวจและเก็บข้อมูลฐานทรัพยากรธรรมชาติ การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดระบบจราจร เป็นต้น

5.2. ด้านการพัฒนาประเทศ

5.2.1. 1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

5.2.2. 2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)

5.3. ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน

5.3.1. 1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น แล้วยังช่วยประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและรักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ

5.3.2. 2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยี มีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศ

6. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ

6.1. 1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

6.2. 2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม

6.2.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

6.2.2. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)

6.3. 3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาไว้ 5 ประเด็น คือ

6.3.1. 3.1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI

6.3.2. 3.2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการประชุมทางไกล (Video Teleconference)

6.3.3. 3.3.เครือข่ายการศึกษา(Education Network) ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็นต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก

6.3.4. 3.4.การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย

6.3.5. 3.5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation) การใช้ในงานประจำและงานบริหาร (Computer Manage Instruction) เป็นการประยุกต์ใช้ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

6.4. 4.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้

6.4.1. 4.1ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยาเก็บเงิน

6.4.2. 4.2การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย

6.4.3. 4.3 สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยี สารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้

6.4.4. 4.4เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น

6.4.5. 4.5เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และ ติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

6.4.6. 4.6ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกลทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย

6.5. 5.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากร ธรรมชาติ

6.5.1. นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม