1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
1.1. ด้านวิทยาศาสตร์
1.1.1. เทคโนโลยีสัมพันธ์กับความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเกิดการใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เทคโนโลยีก็เพื่อแก้ปัญหาทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีใช้เพื่อเสริมการแก้ปัญหา นั่นก็คือ การนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปคู่การปฏิบัตินั่นเอง
1.2. ด้านเกษตรศาตร์
1.2.1. เป็นหลักสูตรที่ศึกษาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตผลการเกษตรเป็น ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพดี ปลอดภัย และสามารถเก็บรักษาได้นาน โดยใช้กระบวนการแปรรูปด้านการใช้ความร้อน การแช่เย็น การแช่แข็งการทำแห้ง และการใช้สารเคมี เป็นต้น รวมทั้งการตรวจสอบคุณภาพอาหาร และการสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร โดยอาศัยหลักการวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ
1.3. ด้านศึกษาศาตร์
1.3.1. การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น - ปัญหาผู้สอน - ปัญหาผู้เรียน - ปัญหาด้านเนื้อหา - ปัญหาด้านเวลา - ปัญหาเรื่องระยะทาง นอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผล
1.4. ด้านโภชนศาตร์
1.4.1. เป็นหลักสูตรที่ศึกษาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตผลการเกษตรเป็น ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพดี ปลอดภัย และสามารถเก็บรักษาได้นาน โดยใช้กระบวนการแปรรูปด้านการใช้ความร้อน การแช่เย็น การแช่แข็งการทำแห้ง และการใช้สารเคมี เป็นต้น รวมทั้งการตรวจสอบคุณภาพอาหาร และการสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร โดยอาศัยหลักการวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ
1.5. ด้านแพทยศาสตร์
1.5.1. แพทยศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการป้องกันและบำบัดโรคซึ้งเน้นเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคและการรักษาอาการของโรคให้ทุเลาลงและหายไปในที่สุด เพื่อให้ผู้เจ็บป่วยมีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ โดยแพทย์ผู้รักษาจะต้องค้นหาวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในทางการแพทย์โดยตรง เช่น วัคซีน เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์การตรวจหาสมมุติฐานของโรค วิธีการใช้ในการบริหาสุขภาพ เป็นต้น วงการแพทย์ได้นำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ทั้งการวินิจฉัยและการรักษาโรค เพื่อให้การรักษาอาการเจ็บป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.6. ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
1.6.1. เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้นโดยเฉพาะความสามารถในการเอาชนะธรรมชาติ เพื่อให้มี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยี ช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานได้มากขึ้น เดินทางได้รวดเร็วขึ้นสามารถมองเห็นได้ไกลกว่าที่ดวงตามนุษย์จะมองเห็นได้ สามารถติดต่อสื่อสารและสื่อความหมายกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางมาพบกันฯลฯ เช่น มนุษย์สามารถเดินทางได้ถึงวันละ 408,000 ไมล์โดยทางอากาศ เป็นต้น
2. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า
2.1. เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ
2.1.1. 1.เทคโนโลยีระดับต่ำ เป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แต่เดิม ตั้งแต่ยุคโบราณ ตลอดจนใช้แรงงาน ในท้องถิ่น มีการสืบทอดเทคโนโลยีต่อ ๆ กันมาพร้อมกับขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น มีความจำเป็นต้องใช้ เพื่อการดำรงชีวิต เราจึงจำเป็น ต้องรู้หลัก และวิธีการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ยาสมุนไพรพื้นบ้าน ครกตำข้าว ลอบดักปลา และกระต่ายขูดมะพร้าว
2.1.2. 2.เทคโนโลยีระดับกลาง เกิดจากการปรับปรุงพัฒนา เทคโนโลยี ระดับต่ำ หรือเทคโนโลยีพื้นบ้านขึ้นมา เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นมากขึ้น มีบทบาทในการเสริมความรู้ และประสบการณ์ ให้กับผู้คนในท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น การผลิตอาหาร โดยใช้ ผลิตผลเหลือใช้ จากการเกษตร การปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อแก้ปัญหา ดินเสื่อม
2.1.3. 3.เทคโนโลยีระดับสูง เป็นเทคโนโลยีที่ได้จาก ประสบการณ์อันยาวนาน มีความสลับซับซ้อน ผู้ใช้ต้องรู้จักดัดแปลงเทคโนโลยีเดิม ให้มีคุณภาพดีขึ้น จนก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยีระดับสูงนั้น อาจจำเป็นต้องอาศัย การศึกษา เรียนรู้ ในสถาบัน การศึกษาชั้นสูง มีการวิจัยทดลอง อย่างสม่ำเสมอ และมีการประดิษฐ์คิดค้น เครื่องมือ เครื่องจักรกลต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น การผลิตอาหารกระป๋อง การคัดเลือก พันธุ์สัตว์ โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
2.2. เทคโนโลยีนำเข้า
2.2.1. เทคโนโลยีที่ประเทศไทยได้นำเข้าประกอบด้วย 1. เทคโนโลยีการเกษตร เช่น เครื่องจักรทางการเกษตร ด้านการกำจัดศัตรูพืช เครื่องมือเก็บเกี่ยว การรักษาคุณภาพผลผลิตหลังจากเก็บเกี่ยว เป็นต้น 2. เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การผลิตวัคซิน การผลิตยา เป็นต้น 3. เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกกรมเคมี 4. เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีอวัยวะเทียม การผลิตและพัฒนายา 5. เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม เช่นโทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น 6. เทคโนโลยีการขนส่ง เช่น การเดินรถยนต์ รถไฟ เรือ เครื่องบิน การขนส่งระบบตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น 7. เทคโนโลยีระดับสูง (Hi-tech) เช่น คอมพิวเตอร์และอิเลคโทรนิคส์ การสื่อสารระบบเลเซอร์ หุ่นยนต์ เซมิคอนดัคเตอร์ เป็นต้น 8. เทคโนโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น การพัฒนาเซรามิค พลาสติก ยาง เป็นต้น
3. เทคโนโลยีคืออะไร
3.1. การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
4. ความสัมพันธ์เเละบทบาทของเทคโนโลยี
4.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับ งานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้วงการวิชาชีพหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันกับสังคมสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก จึงทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต การให้บริการส่งข่าวสาร SMS หรือการโหลดเพลงผ่านเครือข่ายโทรศัพธ์มือถือ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังได้สร้างระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานของตนเองขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การทำเว็บไซด์ของหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางและคุ้มค่า โดยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการ
4.2. ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน
4.2.1. ทำให้มีความคล่องตัวและความสะดวกเร็วมากขึ้นกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตระจำวันก็สามารถทำได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน หรือใช้เวลาน้อย เป็นต้น
4.3. ด้านการพัฒนาประเทศ
4.3.1. ระบบการทำงานเพราะจะต้องมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้นและงานบางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ก็มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทน
4.4. ด้านสิ่งเเวดล้อม
4.4.1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นผิวโลกและในมหาสมุทร (earth and ocean resources satellite) มีจุดประสงค์เพื่อใช้ศึกษาธรณีวิทยา พืชพรรณ ทรัพยากรสัตว์ป่า การเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวมหาสมุทร และอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผน ป้องกัน แก้ไขปัญหาต่าง ๆ
5. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ
5.1. 1.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
5.1.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
5.2. 2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม
5.2.1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)
5.3. 3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา
5.3.1. แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาไว้ 5 ประเด็นคือ 3.1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3.2.การศึกษาทางไกล 3.3.เครือข่ายการศึกษา 3.4.การใช้งานในห้องสมุด 3.5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ
5.4. 4.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสาธารณสุข
5.4.1. เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ
5.5. 5.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
5.5.1. นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม