1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
1.1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์
1.1.1. วิทยาศาสตร์เป็นตัวความรู้ ส่วนเทคโนโลยีนั้นเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติให้เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ วัดได้ หรือจับต้องได้ โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติ ต่าง ๆ มาใช้ในทางปฏิบัติ เช่น เครื่องบำบัดน้ำเสีย เครื่องปรับอากาศ เครื่องบิน เป็นต้น
1.2. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับเกษตรศาสตร์
1.2.1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนา จะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและ การแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก
1.3. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศึกษาศาสร์
1.3.1. การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาจะเห็น เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น ปัญหาผู้สอน ปัญหาผู้เรียน ปัญหาด้านเนื้อหา ปัญหาด้านเวลา ปัญหาเรื่องระยะทางนอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนได้ว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การจัดระเบียบ (organizing) และการบูรณาการ (integrating) องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
1.4. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับโภชนศาสตร์
1.4.1. โภชนศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่งว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต โดยเน้นเรื่องอาหาร พิษภัยอาหาร โภชนาการศึกษา การส่งเสริมภาวะ โภชนาการได้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้มีสุขภาพ พลานามัยดี ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีผลผลิตทางการเกษตร อย่างหลากหลาย สามารถนํามาบริโภคและใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร การถนอมอาหาร เช่น การแช่เเข็งหรือแช่เย็นอาหาร เป็นต้น และการแปรรูปอาหาร เพื่อเลี้ยงประชากรของประเทศ หรือเพื่อส่งออกไปจําหน่ายในต่างประเทศ
1.5. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับแพทย์ศาสตร์
1.5.1. เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญทำให้ประชาชนและผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์สาธารณสุข รวมทั้งใช้บริการสาธารณสุขจากที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทาง เพียงแค่มีโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ก็สามารถตรวจสอบสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ได้ แพทยศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการป้องกันและบำบัดโรค ซึ้งเน้นเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคและการรักษาอาการของโรคให้ทุเลาลงและหายไปในที่สุด เพื่อให้ผู้เจ็บป่วยมีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ โดยแพทย์ผู้รักษาจะต้องค้นหาวิธีการและเทคดนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในทางการแพทย์โดยตรง เช่น วัคซีน เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์การตรวจหาสมมุติฐานของโรค วิธีการใช้ในการบริหารสุขภาพ เป็นต้น วงการแพทย์ได้นำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ทั้งการวินิจฉัยและการรักษาโรค เพื่อให้การรักษาอาการเจ็บป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.5.2. เทคโนโลยีสัมพันธ์กับพลังงานและสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวกับการนําพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การใช้พลังงานแบบประหยัด และการใช้เทค โนโลยีเพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเป็นการนําความรู้และศิลปวิทยาการในการดํารงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่กําลังเปลี่ยนแปลง เช่นเทคโนโลยีจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานจากธรรมชาติที่มีความสะอาดปราศจากการก่อมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม มีปริมาณมากมายมหาศาลและไม่มีหมดสิ้น จึงมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้แทนพลังงานอื่นๆ
1.6. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับพลังงานกับสิ่งแวดล้อม
2. ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี
2.1. ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน
2.1.1. 1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การค้นหาข้อมูลทางด้านการศึกษาง่ายขึ้น 2. การดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้มีความคล่องตัวและความสะดวกเร็วมากขึ้นกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตระจำวันก็สามารถทำได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน หรือใช้เวลาน้อย เป็นต้น 3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา 4. อัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว เพราะการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าและ ทันสมัยในปัจจุบัน 5. ระบบการทำงาน เพราะจะต้องมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้น
2.2. ด้านการพัฒนาประเทศ
2.3. ด้านสิ่งแวดล้อม
2.3.1. เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้น โดยเฉพาะความสามารถในการเอาชนะธรรมชาติ เพื่อให้มี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยี ช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานได้มากขึ้น เดินทางได้รวดเร็วขึ้น สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางมาพบกันฯลฯ ที่สำคัญก็คือมนุษย์ได้อาศัยเทคโนโลยีในการผลิตอาหาร ทำให้ได้อาหารมากขึ้นต่างกับสมัยก่อน ทำให้จับสัตว์ได้เพียงจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อมนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้น ด้วยการใช้ธนูและเครื่องจับสัตว์ ทำให้มนุษย์สามารถล่าสัตว์ได้มากกว่าเดิมต่อมามนุษย์ก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดก็กลายเป็นเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูก ด้านเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ มนุษย์ได้พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ จากการใช้พันธุ์พื้นบ้านไปเป็นการคัดเลือกพันธุ์ การหาพันธุ์ใหม่ และการให้อาหารที่มีคุณภาพ ฯลฯ ด้านการเพาะปลูก มนุษย์สามารถผลิตเครื่องมือที่ดีขึ้น
2.3.1.1. เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และพลังงานจากน้ำตก ฯลฯ
2.3.1.2. เช่น มนุษย์สามารถเดินทางได้ถึงวันละ 408,000 ไมล์โดยทางอากาศ
2.3.1.3. ชีวิตประจำวันเราต้องเจอกับเทคโนโลยีสารสนเทศดังนั้นเทคโนโลยีจึงมีผลกับเรา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนในโรงเรียนจะมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ เป็นต้น ในการแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมก็จำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
2.3.1.4. เช่น สามารถผลิตและใช้คันไถ รู้จักการใช้ปุ๋ย การชลประทาน ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้สูงมากขึ้น ด้านการอุตสาหกรรม เทคโนโลยีทำให้เกิดการปฏิวัติ ทางอุตสาหกรรม ด้วยการนำเอาเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคนและแรงงานสัตว์ ด้านเทคโนโลยีพลังงงาน มนุษย์มีความสามารถสูงจากการรู้จักเอาพลังงานต่างๆ มาใช้
3. เทคโนโลยีคืออะไร
3.1. คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
4. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า
4.1. แม้ว่าเทคโนโลยีทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยจะมีอยู่ในระดับสูง แต่เทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่นๆที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศยังกล่าวได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ การสื่อสาร โทรคมนาคม การขนส่ง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรมของสังคมไทย
4.2. เ
4.2.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น หมายถึง เทคโนโลยีดั้งเดิม ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ในการดำเนิน ชีวิต การทำมาหากิน การต่อสู้กับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม ของคนในท้องถิ่นนั้น เทคโนโลยีท้องถิ่นจะมีลักษณะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปได้ไม่หยุดอยู่กับที่